ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับเซรามิค

ในสมัยก่อน เซรามิกส์หมายถึงศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเครื่องปั้นดินเผา เนื่องจากคำว่า “ เซรามิค ” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า“เครามอส” ซึ่งหมายถึงวัสดุที่ผ่านการเผา ปัจจุบันนี้ เซรามิค หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัตถุดิบในธรรมชาติ วัสดุหลักคือ ดินเหนียว หิน ทราย และแร่ธาตุต่างๆ นำมาผสมกัน แล้วทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา แบ่งตามลักษณะเนื้อของดิน คือ ชนิดที่ดูดซึมน้ำได้ มีทั้งชนิดที่เคลือบ และไม่เคลือบ หลังจากนั้นจึงนำไปเผาเพื่อเปลี่ยนเนื้อวัตถุให้แข็งแรง สามารถคงรูปอยู่ได้

กระบวนการผลิตเซรามิคมีขั้นตอน  ดังนี้

  1. การเตรียมวัตถุดิบ
  2. การขึ้นรูป
  3. การตากแห้ง
  4. การเผาดิบ
  5. การเคลือบ
  6. การเผาเคลือบ เซรามิค เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากอนินทรีย์สาร จำพวกอโลหะซึ่ง ได้แก่ แร่ธาตุดิน หินต่างๆ โดยนำมาบดย่อยแล้วผสมน้ำ และนำไปขึ้นรูปตามวิธีการต่างๆ ผึ่งแห้งแล้วนำไปผ่านขบวนการ ให้ความร้อนจนได้เป็นผลิตภัณฑ์ ตามที่ต้องการ

ประเภทของเซรามิค

ผลิตภัณฑ์ จากเซรามิกส์ก็เป็นวัสดุอีกประเภทที่เราคุ้นเคยและมักเห็นเป็นประจำใน เครื่องครัว สำหรับผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ในห้องครัวที่เราคุ้นเคยมีด้วยกัน 4 ประเภทหลักๆ คือ เอิร์ทเทนแวร์ (Earthenware) สโตนแวร์ (Stoneware) ปอร์ซเลน (Porcelain) และโบนไชน่า (Bone China) ซึ่งเมื่อแยกประเภทโดยคุณสมบัติโปร่งแสงแล้ว เอิร์ทเทนแวร์และสโตนแวร์จะทึบแสง ส่วนปอร์ซเลนและโบนไชน่าจะโปร่งแสงคือเมื่อนำไปส่องไฟจะเห็นว่าแสงสามารถ ผ่านได้

                1. เอิร์ทเทนแวร์(Earthenware) เป็นเซรามิกส์ที่มนุษย์รู้จักมานับพันปีแล้ว และปัจจุบันเราเห็นกันในรูปหม้อดิน กระถางต้นไม้ รูปปั้นต่างๆ เป็นต้น เซรามิกส์ประเภทนี้มีความพรุนสูง แตกหักง่าย เมื่อใส่อาหารหรือของเหลวจะถูกดูดซึมลงในเนื้อภาชนะ ทำให้มีการสะสมของกลิ่นหรือเชื้อโรคได้จึงควรใช้วัสดุอื่นรองก่อนใส่อาหาร หรือของเหลวลงไป อีกทั้งยังไม่ควรใช้กับเครื่องไมโครเวฟเนื่องจากอากาศและน้ำอาจขยายตัวจน ระเบิดอย่างรุนแรงได้

                2. สโตนแวร์(Stoneware) เป็นเซรามิกส์ที่เนื้อดินหลอมกันแน่นกว่าเอิร์ทเทนแวร์ ไม่เปราะและแตกง่ายเมื่อกระทบกัน สามารถใช้ได้กับเตาอบและไมโครเวฟ แต่ก็ควรจะเลือกที่มีสัญลักษณ์ Oven/Microwave safe เพื่อความปลอดภัย ส่วนความสามารถในการดูดซึมน้ำจะน้อยกว่าเอิร์ทเทนแวร์ เซรามิกส์ประเภทนี้มีกำเนิดในประเภทจีนและซีเรียเมื่อเกือบ 3,000 ปีก่อนศริสต์ศักราช

                3. ปอร์ซเลน(Porcelain) เป็นภาชนะที่บาง เบา มีความหรูหราและทันสมัย เนื้อดินมีความแข็งแกร่งมาก ไม่บิ่นและแตกง่ายเมื่อกระทบกัน แสงสามารถผ่านได้เมื่อส่องไฟ มีส่วนผสมของดินขาว เฟลด์สปาร์และควอตซ์ เซรามิกส์ชนิดนี้ถือกำเนิดในประเทศจีนยุคราชวงศ์ถัง

                4. โบนไชน่า(Bone China) เป็นเซรามิกส์เนื้อดีที่สุด มีลักษณะบางและเบา แต่มีความแข็งแกร่งเป็นเลิศ ออกสีขาวหรือสีงาช้าง โปร่งแสง  โดยหากนำมือหรือวัตถุทึบแสงไปกั้นระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับผลิตภัณฑ์แล้ว จะสามารถสังเกตเห็นเงาของมือหรือวัตถุปรากฏผ่านได้ เวลาเคาะจะมีเสียงดังกังวาลใส ส่วนผสมหลักของโบนไชน่า คือ เถ้ากระดูกสัตว์ (Bone ash)

                การผลิต Bone ash ที่เป็นผงละเอียดสำหรับใช้ในงานทางเซรามิกนั้น เริ่มต้นจากการนำกระดูกของสัตว์เช่น วัว ควาย มาล้างทำความสะอาดพวกคราบไขมัน เลือด ออกให้หมด แล้วนำไปเผา (Calcine) ที่อุณหภูมิประมาณ 900-1000°C โดยมีการควบคุมปริมาณสารอินทรีย์ในเถ้ากระดูกไว้เพื่อเป็นตัวช่วยให้เกิดความเหนียวอยู่บ้าง โดยควบคุมค่าความถ่วงจำเพาะให้อยู่ที่1.9-2.0 g/ccหลังจากนั้นนำไปบดโดยใช้ Ball mill ควบคุมความละเอียดของน้ำสลิป เมื่อได้ความละเอียดตามที่ต้องการแล้ว จึงนำไปอบแห้ง เพื่อเก็บไว้ใช้งานต่อไป ถ้า Bone ash มีการเก็บ stock ไว้มาก จำเป็นจะต้องใส่ถุงและปิดให้สนิท เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยากับ CO2 เพราะจะทำให้การไหลตัวของน้ำสลิปที่ผสม Bone ash เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทำให้เกิดปัญหาในการเทแบบ

                Bone ash เป็นวัตถุดิบ สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทโบนไชน่า (Bone China) โดยทำหน้าที่เป็นตัวช่วยลดจุดหลอมตัว นอกจากนี้ยังทำให้เนื้อผลิตภัณฑ์มีความขาวมากขึ้น และมีความโปร่งใส (Translucent) ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์โบนไชน่าดูสวยงามน่าใช้งานและมีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์เซรามิกชนิดอื่น

แต่ปัญหาของการใช้ Bone ash ในเนื้อผลิตภัณฑ์ ก็คือ จะมีการหดตัวสูง มีการเกิดเนื้อแก้วขึ้นมาก และช่วงอุณหภูมิในการเผาแคบ ผลิตภัณฑ์มีโอกาสที่จะเกิด Over firing ได้ง่าย ดังนั้นโดยปกติของกระบวนการผลิตโบนไชน่านั้นหลังจากได้ผลิตภัณฑ์ดิบแล้ว จะเผาบิสกิทที่อุณหภูมิสูง โดยมีตัว support รองเผาเพื่อกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์บิดเบี้ยว แล้วจึงนำไปชุบเคลือบ ซึ่งเมื่อเผาบิสกิทที่อุณหภูมิสูงนั้นทำให้ รูพรุนในเนื้อบิสกิทเหลือน้อยมาก การชุบเคลือบจึงเป็นไปได้ยาก ผลิตภัณฑ์โบนไชน่า จึงมักมีการอุ่นบิสกิทก่อนการชุบ หรือสเปรย์เคลือบเพื่อช่วยให้เคลือบยึดติดได้ง่ายขึ้น รวมทั้งเติมตัวช่วยยึดเกาะ (Binder) ลงไปในน้ำยาเคลือบด้วย หลังจากเคลือบแล้ว จึงนำไปเผาเคลือบอีกครั้งที่อุณหภูมิต่ำ (อยู่ในช่วงต่ำกว่าเผาบิสกิท100°C เพื่อป้องกันการเกิด Over firing ของเนื้อดิน)

การใช้งาน Bone ash ในเคลือบนั้น มีการเติมลงไปเพื่อจุดประสงค์ที่จะทำให้เกิดความทึบแสง (Opacity) ที่อุณหภูมิต่ำ ส่วนเคลือบอุณหภูมิสูงนั้น มีการเติม Bone ash ลงไปในปริมาณไม่มากนัก (ไม่เกิน 4 %) เพื่อช่วยปรับปรุงสีให้มีความหลากหลายเฉดสี โดยเฉพาะพวกเคลือบสีแดงของคอปเปอร์ (Copper red) และพวกเคลือบผลึกของ Fe-Tiที่เป็นสีน้ำตาลทอง

ในโลหะเคลือบมีการใช้งาน Bone ash เพื่อเป็นตัวเติมให้ทึบแสงเช่นกัน แต่ต้องระวังปัญหาเรื่องรูพรุน รูเข็ม และเคลือบหลุดร่อนออกจากโลหะที่ทำการเคลือบได้

จานชามเซรามิค จานชามเมลามีน จานชามเมลามีนสไตล์ญี่ปุ่น แก้วน้ำ ช้อนส้อม
สำหรับร้านอาหาร สวนอาหาร โรงแรม รีสอร์ท ขายส่งตรงจากโรงงาน โทร 088-639-8791

สอบถามโปรโมชั่น คลิก
LINE
สอบถามโปรโมชั่น โทร
สอบถามโปรโมชั่น คลิก